Portfolio

ฝึกความคิด ความจำ และการตัดสินใจ

ความคิด ความจำ และการตัดสินใจ เป็นส่วนสำคัญของกิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มที่เริ่มมีภาวะสมองเสื่อม (Dementia), อัลไซเมอร์ หรือแม้แต่แค่ “หลง ๆ ลืม ๆ” ตามวัย การฝึกเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ กระตุ้นสมอง, ชะลอการเสื่อมถอย, และ เสริมสร้างความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นอิสระ มากขึ้น

การฝึกจัดการอารมณ์ และ ดูแลสุขภาพใจ

ฝึกจัดการอารมณ์ และ ดูแลสุขภาพใจ อารมณ์และสุขภาพจิต ของผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่มักถูกมองข้าม ทั้งที่จริงแล้วส่งผลต่อ คุณภาพชีวิต ความร่วมมือในการรักษา และความสุขในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะในช่วงวัยที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น การเกษียณ การสูญเสียคนรัก หรือการเจ็บป่วยเรื้อรัง นักกิจกรรมบำบัด จะสังเกตพฤติกรรม เช่น เงียบซึม, หงุดหงิดง่าย, ถอนตัวจากสังคม และหากิจกรรมตามกระบวนการที่ถูกวิเคราะห์ เหมาะสม มาเป็นสื่อในการบำบัด รักษา

ฝึกกิจวัตรประจำวัน

การฝึกกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุ กิจวัตรประจำวัน เช่น การอาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร หรือเข้าห้องน้ำ อาจเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับผู้สูงอายุที่เริ่มมีข้อจำกัดทางร่างกายหรือสมอง ความสามารถเหล่านี้คือเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตและความภาคภูมิใจในตนเอง หากผู้สูงอายุสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยตนเอง ย่อมช่วยลดภาระของผู้ดูแล และส่งเสริมสุขภาพจิตได้อย่างมาก

กิจกรรมยามว่าง

กิจกรรมยามว่าง นักกิจกรรมบำบัดจะใช้กิจกรรมยามว่างเป็นเครื่องมือหนึ่งในการฟื้นฟู ส่งเสริม และรักษาความสามารถรอบด้านของผู้สูงอายุอย่างมีความหมายและตรงกับตัวตนของแต่ละคน เพราะกิจกรรมยามว่าง ส่งผลให้ผู้สูงอายุ รู้สึกมีคุณค่าและจุดหมายในชีวิต ,กระตุ้นสมองและความคิด ลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม,ลดความเหงา ความเครียด และภาวะซึมเศร้า,ส่งเสริมการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของร่างกาย และ เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม

การฟื้นฟูด้านการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ

การฟื้นฟูด้านการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ โดยนักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapist: OT) เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่มีปัญหาด้านร่างกาย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อติด หรือ ภาวะหลังการบาดเจ็บ/เจ็บป่วย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), พาร์กินสัน, ข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น ให้สามารถใช้ร่างกายกลับมาทำงานได้เต็มความสามารถที่หลงเหลืออยู่

การกระตุ้นการกลือนและทานอาหารอย่างปลอดภัย

การกระตุ้นการกลืนในผู้สูงอายุ เป็นการรักษาภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) ซึ่งมักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางร่างกายหรือสุขภาพ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), พาร์กินสัน, ความเสื่อมของกล้ามเนื้อหรือระบบประสาท เป็นต้น การฝึกกระตุ้นการกลืนจะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถรับประทานอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการสำลัก อาหารลงปอด เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น